ที่มาของเรื่อง เรื่องผู้ชนะสิบทิศประพันธ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๘๑ โดยโชติ แพร่พันธุ์ หรือนามปากกา “ยาขอบ”

  ยาขอบ เรียกบทประพันธ์ชิ้นนี้ว่า "นิยายปลอมพงศาวดาร" โดยหยิบพงศาวดารพม่าเพียงแค่ 8 บรรทัด จากพระราชพงศาวดารพม่า พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ในครั้งแรกใช้ชื่อว่า "ยอดขุนพล" เริ่มเขียนใน พ.ศ. 2474 จบลงใน พ.ศ. 2475 ในหนังสือพิมพ์ "สุริยา" และเริ่มเขียน "ผู้ชนะสิบทิศ" ในหนังสือพิมพ์ "ประชาชาติ" เมื่อ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 จบภาคหนึ่งเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 รวมเล่มพิมพ์เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 เขียนรวมทั้งหมด 3 ภาค เมื่อ พ.ศ. 2482 แต่ยังไม่จบ เนื่องจากขาดข้อมูลบางอย่างที่จะต้องใช้ประกอบการเขียน ในเนื้อเรื่องกล่าวถึงราชวงศ์ตองอูตอนต้น เริ่มตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าเมงจีโย ไปจนถึงพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ หรือ มังตราราชบุตร โดยคำว่าผู้ชนะสิบทิศนั้น มาจากคำที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึง พระเจ้าบุเรงนองว่าเป็น The Conqueror of Ten Directions แต่สำหรับชื่อนิยาย จากหนังสือประวัติยาขอบ อ้างอิงว่า มาลัย ชูพินิจ เป็นผู้ตั้งให้ ผู้ชนะสิบทิศตีพิมพ์ครั้งแรกลงใน นสพ.ประชาชาติ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ในตอน "ความรักครั้งแรก" ฉบับพิมพ์รวมเล่มใช้ชื่อ "ลูกร่วมนม" สร้างชื่อเสียงให้ยาขอบได้แจ้งเกิด จนกลายเป็นกระแสไปทั่วทุกเพศทุกวัย ว่ากันว่าแม้แต่บรรพชิตก็ยังอ่านอย่างไม่กลัวอาบัติ-จากวิพีเดีย(SG.9979)

เรื่องย่อ 

   มหาราชพม่าพระองค์หนึ่งมีพื้นตระกูลกำเนิดสามัญชน จะเด็ด เป็นลูกพระนมหลวง จึงพลอยได้สมาคมกับพระราชวงศ์นับแต่ร่วมน้ำนมกับมังตราราชบุตรและตะละแม่จันทรา พระราชธิดา ต่อมาเป็นดั่งดวงใจ จะเด็ด ฉากของเรื่องมีสามเมืองใหญ่ที่ถูกผูกเหตุการณ์เกี่ยวเนื่องกัน ด้วยการเมือง การรบ ความแค้นและความรัก คือตองอู เมืองพม่าอันมีจะเด็ดเป็นหนึ่งในตองอู กับเมือง แปรและเมืองหงสาวดีอันเป็นเมืองมอญ ตองอูนั้นสร้างด้วยสามเกลอร่วมใจกัน คือ มังสินธุ ขุนพลผู้ออกบวช ภายหลังเป้นมหาเถรกุโสดออาจารย์ของจะเด็ด, ทะกะยอดิน ขุนพลผู้พอใจเป็นขุนวังและเมงกะยินโย ขุนพลผู้ยกเศวตฉัตรเหนือตองอู มีพระราชธิดาเกิดแต่พระอัครมเหสีนามว่า ตะละแม่จันทรา มีพระราชโอรสเกิดด้วยพระมหาเทวีเป็นรัชทายาทนามว่า มังตรา ส่วนจะเด็ดเป็นลูกคนปาดตาลที่แม่ชื่อ นางเลาชี ซึ่งมหาเถรกุโสดอถวายคำแนะนำกษัตริย์ตองอู รับเป็นพระนมของมังตราและจันทรา

  ฝ่ายเมืองแปร หญิงผู้เป็นแสนรักของจะเด็ดอีกคนเกิดที่นี่ นามตะละแม่กุสุมา พระธิดาพระเจ้าเมืองแปรหรือพระเจ้านรบดี พระเจ้าแปรเป็นพระอนุชาของผู้ครองหงสาวดีคือพระยาราม มีราชบุตรชื่อสอพินยา ซึ่งมีบริวารนามว่าไขลู ตัวละครนี้ ยาขอบรักที่สุด เพราะจะสร้างพระเอกอย่างจะเด็ดเท่าไร สร้างได้ไม่ยากนัก แต่จะสร้างคนชั่วช้า อย่างไขลูสร้างได้ยากยิ่ง ตัวละครในผู้ชนะสิบทิศ มีเป็นอันมากและเวลาในเรื่องกินเวลายาว กระนั้น การที่คนอ่านไม่เพียงบทตราตรึงของตัวละครเอก ยังแผ่ใจจดจำตัวประกอบรองๆ ไม่สับสนหลงลืม เพราะผู้ประพันธ์กำหนดบทบาทและบุคลิกภาพของตัวละครชัดเจน กินใจเป็นกระพี้ที่สำคัญต่อแก่นประสมประสานเป้นองค์เอกภาพเดียวกัน



 เป็นเรื่องของสามเมืองใหญ่ ที่เกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่การเมือง การรบ ความแค้นและความรัก อันประกอบด้วย

 เมืองตองอู เป็นเมืองพม่า มีเมงกะยินโย เป็นผู้ยกเศวตฉัตรเหนือตองอู

เมืองแปร    มีพระเจ้านระบดี เป็นกษัตริย์ มีราชธิดาที่จะเด็ดรักยิ่ง คือตละแม่กุสุมา

เมืองหงสาวดี อันเป็นเมืองมอญ มีพระเจ้าสการะวุตพี เป็นกษัตริย์ มีมเหสี ซึ่งต่อมาก็เป็นหนึ่งในภริยาของจะเด็ดในชื่อตละแม่มินบู อันเป็นนามเดิมก่อนอภิเษกเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสการะวุตพี

   ทั้งสามเมืองรบกันเพื่อชิงความเป็นหนึ่ง และผู้ชนะสุดท้ายคือ"จะเด็ด" หรือ"บุเรงนอง"ขุนพลเอกของ"พระเจ้าตะเบงชะเวตี้" แห่งตองอู

   จากนั้นพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ก็ย้ายพระมหาราชวังจากตองอูมาอยู่หงสาวดี เพราะเป็นเมืองใหญ่ ส่วนมเหสี คือ"นันทะวดี"ก็ถูกยกเป็นอัครมเหสี

   เมื่อรวมสามเมืองใหญ่และอังวะเข้าเป็นอาณาจักรเดียว พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ก็ประกาศตั้ง"บุเรงนอง"เป็น"พระเจ้าตองอู" แต่บุเรงนองปฏิเสธ เพราะรับปากกับมหาเถรกุโสดอว่าจะไม่ขอแข่งบารมีกับ"มังตรา" น้องร่วมเต้าของมารดาแห่งตน

   ในประวัติศาสตร์พม่า พระเจ้าบุเรงนอง เป็น 1 ใน 3 กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของพม่า ถือเป็นกษัตริย์นักรบอันเป็นที่ปรากฏพระเกียรติเลื่องลือ โดยยุคสมัยของพระองค์ อาณาจักรตองอูเข้มแข็งและแผ่ไพศาลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยครอบคลุมอาณาเขตตั้งแต่ลุ่มน้ำอิรวดีจนถึงแม่น้ำโขง มีประเทศราชต่างๆมากมายในภูมิภาคอุษาคเนย์ ได้แก่ หงสาวดี ล้านช้าง ไทยใหญ่ เขมร ญวน อยุธยา เชียงใหม่ เป็นต้น

    อีกหนึ่งเรื่องที่ประวัติศาสตร์พม่าบันทึกไว้ คือพระเจ้าบุเรงนองเป็นกษัตริย์นักปกครองและบริหารที่เก่งกาจ เพราะสามารถปกครองและบริหารข้าทาสบริวารมากมาย ทั้งของพระองค์เองและของประเทศราช เช่น การยึดเอาพระราชวงศ์ที่สำคัญๆของประเทศราชต่างๆเข้ามาอยู่ในพระราชวังเพื่อเป็นองค์ประกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือพระนเรศวรมาหราชและพระพี่นางนั่นเอง




 ณ สำนักของครูดาบชาวกะเหรี่ยง ตะคะญี ที่มี "ศิษย์เอก" อยู่สาม คน

    คนแรกก็คือ จาเลงกะโบ บุตรชายรูปหล่อของครูดาบ คนต่อมาคือสีอ่อง เจ้าหนุ่มผู้ไม่ค่อยพูดจา และเนงบา หนุ่มร่างใหญ่ ผมแดงตาแดง

    ทั้ง 3 คนร่วมเป็นร่วมตายกับจะเด็ดลุยรบทุกเมือง และเมื่อจะเด็ดเถลิงยศเป็น"บุเรงนองทกยอดิน" ก็แต่งตั้งเพื่อนตายทั้งสามคนเป็นขุนพลของตองอู โดย

          จาเลงกะโบ "..ร่างค่อนข้างใหญ่สมชาย หว่างคิ้วสักเป็นยันต์ไขว้เหมือนรูปอุณาโลม นัยน์ตาเหลืองเข้มประหนึ่งตาเสือ.." ได้รับการแต่งตั้งเป็น นายกองคชโยธา (ทัพช้าง)

          เนงบา "...ร่างใหญ่เสมอเอาคนสองคนมาปั้นรวมกัน อกและหลังสักจนเกือบไม่มีที่ว่าง ตาและผมแดง ไว้เคราหยิกเป็นก้อนติดคาง..."เป็นนายกองปัตตานึก (ทัพเดินเท้า) 

          สีอ่อง "..รูปละม้ายคล้ายกระบอกข้าวหลาม รอยสักมีเพียงที่ชายโครงสองข้าง เสียงเจรจาดูสงบเสงี่ยม.."เป็นนายกองอัศวานึก (ทัพม้า)"

          แต่ทั้งสามคน ต่างก็มีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันในบั้นปลาย

          จาเลงกะโบ ได้ขึ้นเป็นขุนพลคู่ใจของจะเด็ด เพราะความสุขุมและเก่งกล้า และมีความสุขกับ ปอละเตียง ที่จะเด็ดสู่ขอและจัดงานวิวาห์ให้ระหว่างยกทัพกลับจากเมาะตะมะ

          สีอ่อง เจ้านายกองม้าผู้หาญกล้าและเงียบขรึม ได้ตำแหน่งขุนพลประจำเมืองแปร คู่กับครูดาบตะคะญี

          เนงบา บุรุษร่างใหญ่ ใจร้อน กลับเป็นคนที่น่าเวทนา เพราะไปหลงรัก กันทิมา แต่นางไม่รักตอบ เพราะมอบใจให้จะเด็ด เนงบาจึงหนีทัพก่อนจะมาต่อสู้ตามหน้าที่และเสียชีวิตพร้อมสั่ง"ไม่ขอเห็นหน้าบุเรงนองด็ดขาด" ทำให้บุเรงนองต้องกราบศพที่นอนคว่ำเพื่อรักษาสัตย์ของเนงบา

  ความน่าสงสารของเนงบา ถูกประพันธ์ขึ้นมาในชื่อเพลง"เนงบาผู้ปราชัย"  ขับร้องโดย วิเชียร ภู่โชติ คำร้อง-ทำนอง โดย ศักดิ์ เกิดศิริ

เนงบา อุราระทมทุกข์หนัก 
เนงบา รูปอัปลักษณ์ต้อยต่ำ 
เนงบา สุดระกำในดวงแด 
เนงบา เนงบา วาสนาชะตาอับจน ไม่เจียมตน ดิ้นรน 
คิดทะเยอทะยาน รักหญิงหนึ่งพึงใจไม่ประมาณ 
ลืมศักดิ์รักนงคราญ ทนทรมานร้าวรานวิญญา 
จากแดนดินถิ่นแคว้นกะเหรี่ยงไพร เพื่อทรามวัยมิ่งมิตร 
กันทิมา ศึกรามัญสู้โรมรันฟันฝ่า หวังเพียงยอดชีวามาเคียงกาย 
เนงบา เนงบา วาสนาชะตาศักดิ์ชาย ต้องสิ้นลาย 
อับอายเหลือจะพรรณา รักสูญสิ้นดิ้นพรากจากเนงบา 
สกุลต่ำช้ำวิญญา ทนทรมานรับความปราชัย 
บุเรงนองปองรักหักอุรา อกเนงบา ปวดร้าวระทมใจ 
ต้องจำลายอดชีวาแรมไกล จึงบุกป่าแดนไพรเอนกายนอน 
เนงบา อุราระทมทุกข์หนัก 
เนงบา ผู้อัปลักษณ์ลาก่อน 
เนงบา ผู้ร้าวรอนทรวงระทม

ยังมีต่อ 

 ไขลู  คือตัวละครที่ ยาขอบ รักมากที่สุด 

 ในประวัติศาสตร์จริงชื่อของ"ไขลู"นั้น เป็นชื่อของกษัตริย์พม่า ที่ครองกรุงพุกาม พ.ศ.๑๓๖๕ แต่ใน"ผู้ชนะสิบทิศ" ชื่อของ"ไขลู" ถูก"ยาขอบ"นำมาแต่งเป็นชื่อของครูดาบแห่งกรุงหงสา และเป็นทหารเอกคู่พระทัย"สอพินยา" พระอนุชาแห่งเมืองหงสาวดี  

  ไขลู เริ่มมีบทบาทเมื่อตาม"สอพินยา"อุปราชเมืองหงสามาตองอู ในฐานะทูตเพื่อเยี่ยมพระอาการประชวรของ"มหาสิริชัยยะสุระ" พระมหากษัตริย์ตองอู แต่จริงๆแล้ว สอพินยาเดินทางมาเพื่อสืบข่าวดูว่าบ้านเมืองตองอูเป็นอย่างไร และหากเปลี่ยนพระมหากษัตริย์ จะแข็งแกร่งเหมือนเดิมหรือไม่

   เมื่อสอพินยาพบ"จะเด็ด"ครั้งแรกก็ถูกชะตา แต่เมื่อไม่สมหวังในรักกับนันทะวดีและตละแม่จันทรา จึงวางแผนใส่ร้ายจะเด็ด โดยคนวางแผนทั้งหมดก็คือ"ไขลู" ที่ให้นำแหวนราชวงหงสาไปซุกในหมอนของจะเด็ด ซึ่งนันทะวดีจะบอกว่าไม่จริงก็ถูกจะเด็ดห้าม เพราะในยามค่ำคืนที่สอพินยากล่าวหาว่าจะเด็ดขโมยแหวนนั้น ตัวของนางอยู่กับจะเด็ดในสวน ทำให้หากเรื่องนี้ถูกเปิดเผย นางจะเสียชื่อเสียงและเกียรติยศ

  จะเด็ดโมโหที่ถูกกล่าวหา จึงลืมตัวฆ่านายทหารของหงสาไปสี่คน ก่อนหนีไปบอกพระมหาเถรกุโสดอ แล้วพลบภัยไปอยู่กับครูดาบคะตะญีที่หมู่บ้านกะเหรี่ยง โดยมหาเถรอาบ"ว่านวิเศษ"ให้ผิวคล้ำและแข็งแกร่งขึ้น พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น"มังฉงาย"

 ที่หมู่บ้านกะเหรี่ยง ...บังเอิญอีกครั้งที่"ไขลู"ไปพบจะเด็ด แต่จำไม่ได้เพราะผิวคล้ำและแกร่งขึ้น จนเกิดทะเลาะต่อสู้กัน ก่อนที่จะเด็ดได้ฝากรอยทวนไว้บนหน้าไขลูสามแผล...

การกระทำของไขลูนั้นมีมากมายและสร้างความวุนวายยิ่งนัก !!!

    ไม่ว่าจะเป็นคนยุยงให้สอพินยา"ฉุด"ตละแม่กุสุมาไปหงสา หรือการให้"โชอั้ว" บุตรีปะขันหวุ่นญี นายทัพเมืองแปร ให้หลอกรักและกล่อมจิสะเบง บุตรชายตองหวุ่นญี นายทัพใหญ่ตองอู จนยอมแปรพัตรเข้าช่วยเมืองแปรต่อสู้กับพ่อของตัวเอง และเมื่อการรบจวนตัว ไขลูก็เป็นคนฆ่าตองหวุ่นญีที่เผลอเพราะมองดูลูกชาย แต่สุดท้ายเจ้าตัวก็ถูกจับไปขังคุกมืดในเมืองตองอู

    ถูกขังในคุกเมืองตองอู ไขลูก็เป็นอิสระ เมื่อมีการแลกเชลย แต่ในระหว่างนั้น ไขลูยังสามารถ"กล่อม"โชอั้ว ที่จะเด็ดนำมาจากเมืองแปรเพื่อถวายเป็นสนมให้มังตรา จนสร้างความปั่นป่วนให้ราชสำนักเมืองตองอู แถมยังสร้างความแคลงใจที่มังตรามีต่อจะเด็ด

      เมื่อมองจากฝ่ายตองอูและเมืองแปร เชื่อว่าทุกคนจะเห็นว่า"ไขลู" เป็นคนเลวร้าย เป็นคนชั่วช้า แต่สำหรับกษัตริย์และชาวเมืองหงสา ครูดาบของเขาที่ชื่อ"ไขลู"เป็น"ผู้ยิ่งใหญ่"ที่พร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อเมืองหงสา ...บ้านเกิดของตน

 จากอุปนิสัยของไขลู ที่แสดงให้เห็นว่าจอมโกง เจ้าเล่ห์ เจ้าอุบาย รวมทั้งชอบอวดตัวว่า"เก่ง"ในเชิงดาบแห่งราชสำนักหงสา จึงเป็นที่มาของเพลง"ไขลูผู้กว้างขวาง"

 จุดจบของไขลู เกิดขึ้นเมื่อเป็นอิสระจากการแลกเปลี่ยนนักโทษของ 2 เมือง โดยก่อเหตุร้ายสุดๆนั่นคือฆ่ามหาเถรกุโสดอทั้งๆที่ห่มจีวร ทำให้จะเด็ดโกรธมากถึงขั้นประกาศอยู่ร่วมโลกเดียวกันไม่ได้
          ดังนั้น เมื่อไขลูถูกจะเด็ดจับได้ เขาก็ถูกลงโทษแบบ"โหดร้ายมาก" โดยในพิธีเผาศพอาจารย์มหาเถร จึงสั่งให้เชือดเนื้อไขลูทั้งเป็น แล้วให้โยนเข้ากองเพลิงที่เผาศพอาจารย์

กลับหน้าแรก


                                         


This free website was made using Yola.

No HTML skills required. Build your website in minutes.

Go to www.yola.com and sign up today!

Make a free website with Yola